
1. ดื้อ ลูกน้องดื้อ เจ้านายก็ปกครองลำบาก เพราะพูดอะไรก็ไม่ฟัง หรือ
ต่อให้ฟังก็ไม่ตั้งใจคิดว่าตัวเองถูกอยู่เสมอ เจ้านายที่ดี
ควรรับฟังความคิดเห็น ใจเย็น และค่อยๆ ปรับพฤติกรรมไป
2. แก่กว่า หากเจอลูกน้องที่อายุมากกว่า คนเหล่านี้มักจะมีความ
เชื่อมั่นในตัวเองสูงคิดว่าตัวเองมีประสบการณ์มากกว่า ทำให้
ปกครองลำบาก ดังนั้น การอ่อนน้อมถ่อมตนของเจ้านาย ฟังและ
เปิดใจกับประสบการณ์ของลูกน้องที่แก่กว่าจะช่วยแก้ไข
สถานการณ์ได้ดีขึ้น
3. ขี้เกียจ ลูกน้องประเภทนี้ไม่ช่วยให้องค์กรพัฒนาหรือเจริญก้าวหน้าขึ้นได้
หากมีลูกน้องประเภทนี้ต้อง พ ย า ย า ม ให้งานทำและกำหนดเวลา
ส่งงานให้แน่ชัดหากยังขี้เกียจอยู่ต้องมีบทลงโทษอย่าง รุ น แ ร ง
4. ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจ ขี้กลัว วิ ต ก กั ง ว ล ลูกน้องประเภทนี้
เ สี่ ย ง ในการทำธุรกิจเจ๊งได้ เพราะเขาจะไม่มั่นใจในสิ่งที่เขาทำ
แม้แต่อย่างเดียว เจ้านายต้องคอยพูดชมหรือให้กำลังใจบ้าง
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กลับมา
5. ดีแต่พูด No Action Talk Only เก่งพูดแต่ไม่ค่อยอยากทำลูกน้อง
ประเภทที่รู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องงานของตัวเอง เจ้านายอาจต้องส่งเสริม
ให้ใช้ความถนัดในการพูดให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานให้มากที่สุด
6. อวดดี คิดว่าตัวเองเก่ง ดี ไปทุกเรื่อง ทำผิดไม่ค่อยยอมรับผิด
มีอีโก้สูงเจ้านายควรให้งานยากๆ ไป 2-3 งาน เพื่อเป็นการพิสูจน์
ความสามารถที่แท้จริง
7. ช่างประจบ ลูกน้องบางคนทำดีเกินหน้าเกินตากับเจ้านายหรือ
เข้ามาทำดีเพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะอยากทำให้
เจ้านายมองเห็นความสำคัญของตนเองให้ได้ ดังนั้นเจ้านาย
ต้องทำให้ลูกน้องคนอื่นเห็นว่าการประจบประแจงไม่ได้มีผล
ต่อการทำงาน สิ่งสำคัญเจ้านายไม่ควรวางเฉยเพราะคนอื่นอาจจะคิดว่า
ชอบลูกน้องประเภทนี้จนเกิดปัญหาในแต่ละองค์กรย่อม
ประกอบด้วยคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย
การเลือกใช้คนให้เหมาะกับงานย่อมเป็นเรื่องที่ดีแต่จะยิ่งดีถ้ารู้ว่า
แต่ละคนมีลักษณะนิสัยอย่างไร และมีวิธีรับมืออย่างถูกต้อง
ย่อมช่วยให้เจ้าของธุรกิจหรือคนที่เป็นเจ้านายทำงานได้ง่ายและ
ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกันให้มีความสุขมากยิ่งขึ้น
ที่มา : k a s i k o r n b a n k