
คุณแม่อาจจะเหนื่อยทั้งงานบ้านและงานข้างนอกจนเผลอพูดบางคำออกไป
โดยไม่ได้ตั้งใจและมีผลกระทบมากกว่าที่คิดก็เป็นได้ จะมีคำพูดใด
ที่ไม่ควรพูดบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ
ทำแบบนี้เดี๋ยวโดนตำรวจจับนะ
การไปขู่ลูกด้วยการหลอกว่าตำรวจจะมาจับ จะทำให้ลูกกลัวตำรวจและ
ไม่มีเหตุผลไปได้ ลองเปลี่ยนเป็นการให้เหตุผลที่สอดคล้องกัน
จะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดียิ่งกว่า ถ้ายังหลอกไปเรื่อยๆ จนลูกโต
ในระดับนึงแล้วรู้ว่าไม่ใช่เรื่องจริงจะยิ่งไม่เชื่อฟังเข้าไปใหญ่ค่ะ
ทำไมน่ารำคาญแบบนี้
คำพูดนี้ บั่ น ท อ น ความรู้สึกเชื่อมั่น อาจจะทำให้ลูกเริ่มไม่มั่นใจว่า
ตกลงพ่อแม่ยังรักอยู่หรือไม่ ความมั่นคงในจิตใจของลูกเป็นสิ่งสำคัญ
และเป็นพื้นฐานต่อไปในอนาคตค่ะ
หยุดกวนซะที
บางครั้งคุณแม่ต้องการเวลาส่วนตัวบ้าง แต่ถ้าคุณแม่บอกลูกว่า
อย่ามายุ่งบ่อยๆ ลูกอาจไม่คุยกับคุณแม่อีกต่อไป ยังไงลอง
อธิบายให้ลูกฟัง เช่น คุณแม่ขอเวลาทำธุระส่วนตัวสัก 2-3 นาที
แล้วจะคุยกับลูกอีกทีค่ะ
ต่อว่าลูก
การบอกว่าลูกเป็นคนซุ่มซ่ามหรือนิสัยไม่ดีไม่ได้ช่วยให้เด็ก
มีความมั่นใจหรือรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้พูดกับลูก
โดยตรงก็ตาม สุดท้ายลูกก็จะเชื่อว่าพวกเขา แ ย่ อย่างที่คุณแม่
พูดจริงๆ มาสร้างความมั่นใจให้ลูกจะดีกว่านะคะ
เก็บอารมณ์เดี๋ยวนี้
คุณแม่มักจะหวังดี พ ย า ย า ม ปกป้องลูกโดยการบอกลูกว่าไม่ต้องเศร้า
หรือไม่ต้องกลัว เพียงเพื่อบล็อกอารมณ์ลูกไม่ให้เกิดปัญหาทีหลัง
ทั้งที่จริงแล้วการเก็บอารมณ์มากจนเกินไปและไม่แสดงออกนั้น
จะทำให้ลูกเป็นคนเก็บกดและระเบิดอารมณ์ในภายหลังได้ค่ะ
ทำไมไม่เหมือนลูกบ้านอื่น
คุณแม่ไม่ควรเปรียบเทียบลูกคนหนึ่งกับลูกอีกคน หรือลูกของคนอื่น
เราควรเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันและคุณแม่ก็รักที่พวกเขา
แตกต่างกัน พ ย า ย า ม ทำให้ลูกรู้ว่าพวกเขาพิเศษกันคนละแบบ
จะดีที่สุดค่ะ
ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าลูกทำอย่างนั้น
การที่ไปบอกลูกว่า “ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าลูกทำอย่างนั้น” จะทำให้ลูก
ขาดความมั่นใจ โตขึ้นโดยรู้สึกว่าทำอะไรก็ผิดและก็ไม่มีวันทำอะไร
ถูกสักอย่าง พ ย า ย า ม พูดกับลูกดีๆ แทนที่จะพูดกระโชกโฮกฮาก
ตลอดเวลาค่ะ
เดี๋ยวตีเลย
หลายคนคิดว่าการลงไม้ลงมือจะทำให้ลูกเชื่อฟังในเวลารวดเร็ว
หารู้ไม่ว่าการตี หรือการลงโทษหนักๆ อาจไม่ส่งผลดีเสมอไป
มันอาจใช้ได้ผลแค่ในช่วงแรก แต่สุดท้ายมันก็จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปค่ะ
รอให้พ่อรู้ก่อนเถอะ
บางทีคุณแม่มักจะขู่ด้วยประโยคเดิมๆ อย่าง “เดี๋ยวรอให้พ่อรู้ก่อนเถอะ”
ปัญหาก็คือ เมื่อลูกๆ โตขึ้น เขาก็จะรู้ว่าคุณแม่ก็แค่ขู่ไปอย่างนั้น
โดยไม่ทำอะไร และก็จะพาลไม่ฟังคุณแม่ก็เป็นได้ค่ะ
ชมพร่ำเพรื่อ
ในขณะเดียวกัน การชมพร่ำเพรื่อก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ถ้าชมลูกบ่อยเกินไปแล้ว
คำชมนั้นก็จะไร้ความหมาย และกลายเป็นว่าลูกคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
ที่จะได้รับคำชม คำชมควรถูกสงวนไว้สำหรับวาระสำคัญเท่านั้นค่ะ
สั่งให้ทำ
แม้หน้าที่คุณแม่นั้นควรสอนให้ลูกฟังในสิ่งที่เราพูด ยังไงเสียก็ไม่ควรพูดลอยๆ
โดยไม่มีเหตุผล และไม่อธิบายอะไรเพิ่มเติมเลย มิเช่นนั้นลูกจะมีความเคยชิน
ว่าทำตามคำสั่งไปวันๆ ค่ะ
ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง
ถือเป็นคำที่ฟังแล้วทำให้ลูกเสียความมั่นใจเป็นอย่างมาก ทำให้ลูกไม่กล้า
ลองสิ่งใหม่ๆ อีกต่อไป ซึ่งเป็นผลเสียใน ร ะ ย ะ ย า ว ลองเปลี่ยนเป็นคำพูด
ให้กำลังใจเวลาลูกทำสิ่งที่ไม่เคยทำน่าจะดีกว่าค่ะ
หุ บ ป า ก แล้วอยู่เงียบๆ
เด็กในวัยหัดพูดนั้นมักจะพูดตลอดเวลา อาจจะพูดผิดพูดถูกบ้าง ถ้ามีการ
พูดจาไม่เหมาะสม คุณแม่ควรจะสอนดีๆ แทนที่จะบอกให้ หุ บ ป า ก
มิเช่นนั้นลูกจะเก็บกด ไม่กล้าแสดงออก และมีพัฒนาการทางการพูดที่ช้าลงค่ะ
เป็นลูกผู้ชายหน่อย
คำๆ นี้ไม่ควรคุยกับลูกเลย นอกจากจะปิดกั้นพัฒนาการแล้ว
ยังทำให้ลูกสับสนกว่าเดิมว่าการเป็นลูกผู้ชายนั้นต้องทำยังไง
อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรอธิบายเพิ่มเติมว่าลูกควรทำอะไรบ้าง
และเพราะอะไรค่ะ
ทำแบบนี้เดี๋ยวไม่รักนะ
คำว่าไม่รักมักกระทบความรู้สึกในจิตใจลูกเป็นอย่างมาก ถึงแม้
จะคิดว่ายังไงลูกก็รู้อยู่แล้วว่าคุณแม่รัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว
คำพูดนี้ บั่ น ท อ น ความรู้สึกมากค่ะ
ล้อเลียนข้อด้อย
ถือเป็นสิ่งต้องห้ามเด็ดขาดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรล้อเลียนหรือ
เรียกลูกด้วยชื่ออื่น ๆ ที่อาจทำให้ลูกสูญเสียความมั่นใจ
เช่น อ้วน แห้ง สิว ฯลฯ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามค่ะ
ถ้าหนูทำ…อย่างนี้ แล้วแม่จะให้
การติดสินบนลูกนั้น จะทำให้ลูกรู้สึกว่าทำเพียงให้ได้รางวัลแต่
ไม่ได้เกิดจากความ พ ย า ย า ม ส่วนตัว ลูกจะเรียนรู้ว่าการ
ทำความดีต้องมีสินจ้างรางวัล และยิ่งหากคุณแม่ลืมคำสัญญา
ที่ให้กับลูกด้วยแล้ว ลูกจะเรียนรู้ว่าคำสัญญานั้นไม่มีความหมายอะไร
และมีปัญหาอื่นๆ ตามมาค่ะ
แม่ตัดหนูแล้วนะ สิ้นสุดกันที
เมื่อคุณแม่โกรธอาจพูดว่าแม่ตัดแล้ว ไม่เอาแล้วลูกคนนี้
แต่ในความเป็นจริงลูกยังต้องพึ่งที่อยู่อาศัย อ า ห า ร ความรัก
ความปลอดภัยจากคุณแม่คุณพ่ออยู่ ดังนั้นถ้าพูดไปอาจจะ
ทำ ร้ า ย ความรู้สึกของลูกและจะ ทำ ล า ย ความสัมพันธ์
ของคุณแม่กับลูกด้วยค่ะ
ไม่น่าเชื่อว่าลูกคิดในเรื่อง ไ ร้ ส า ร ะ แบบนี้
เมื่อลูกเดินกระแทกเท้าหรือชนประตูแบบไม่ปกติ อาจมีเรื่องกังวลใจก็
เป็นได้ เมื่อถูกต่อว่าเขาจะรู้สึกเหมือนว่าถูกปฏิเสธ ไร้ค่า โกรธ หงุดหงิด
และต้องการแยกตัวออกห่างจากคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น ทางที่ดี
ควรรอจังหวะที่เหมาะสมแล้วพูดว่า แม่อาจเห็นเรื่องนี้ในมุมมอง
ที่แตกต่างออกไป ไหนลองเล่าเรื่องของหนูใหม่อีกครั้ง
แล้วเรามาหาข้อสรุปร่วมกันอีกที เหตุการณ์นี้ก็จะดีขึ้นค่ะ
เป็นเด็กขี้แพ้ตลอด
การที่เรียกลูกว่าเด็กขี้แพ้ งอแงตลอดจะทำให้ลูกรู้สึกละอายแทนที่
จะพูดอย่างนั้น คุณแม่ควรฝึกให้ลูกรู้จักการฝึกฝนและ พ ย า ย า ม
การที่คุณแม่พูด ทำ ร้ า ย จิตใจลูก แทนที่ลูกจะมีความ พ ย า ย า ม ขึ้น
จะยิ่งทำให้ลูกมีพฤติกรรมถดถอย ละอายใจ ขาดความเชื่อมั่นและ
ไม่กล้าตัดสินใจมากขึ้นค่ะ
จะเห็นได้ว่าบางคำพูดนั้นอ่อนไหวมากกว่าที่คุณแม่คิดไว้มาก
ก่อนจะพูดอะไรนั้นขอให้คิดก่อนที่จะพูดออกมา ทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์
ที่ดีระหว่างแม่กับลูกค่ะ
ที่มา postsod , Gymboree Play & Music Rangsit