
ขั้นที่ 1 : ฝึกยิ้มให้เป็นมิตร ไม่ดูเหนือกว่าไม่ดูหยิ่ง ไม่ดูแฝงความนัยอะไร
เพื่อเวลาตอบโต้จะลดความ รุ น แ ร ง ในถ้อยคำอันแยบยล (ยังแอบแฝงอยู่แต่อย่าแสดงออกในรอยยิ้ม)
ขั้นที่ 2 : พยายามเข้าใจผู้คนอื่นรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เมื่อคุณพยายามเข้าใจ
แต่อาจไม่ชอบใจก็ยังรู้ว่าควรตอบโต้แบบไหน ยังไงไม่ให้ไปโดนด้านที่ เ จ็ บ ป ว ด ของเขา
การสร้าง ศั ต รู ไม่ได้ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นหรอกนะ
ขั้นที่ 3 : ฝึกใช้น้ำเสียงให้มีน้ำหนัก ที่ไม่อ่อนแอหรือแข็งกร้าวเกินไป แต่ต้องหนักแน่น
สร้างความเกรงใจได้ด้วยเพราะถ้าคุณอ่อนคนที่กำลังก้าวก่ายชีวิตของคุณก็จะไม่หยุดและไปต่อ
ขั้นที่ 4 : อย่าเผลอคุยไปกับเขา ให้ตอบรับสั้น ๆ ค่ะ/ครับ/ไม่ค่ะ/ขอบคุณค่ะ
ด้วยรอยยิ้มที่เป็นมิตร จนกว่าอีกฝ่ายจะเกรงใจถอยกลับไปเอง
ขั้นที่ 5 : ยิ้มและเปลี่ยนเรื่อง คำทักทายเรื่องรูปร่างผิวพรรณ การแต่งตัวแบบหยอกล้อจากคนรู้จัก
ก็เป็นเรื่องที่ไร้มารยาทเช่นกัน บางทีคุณก็รำคาญที่เจอบ่อย ๆ จนอยากจะตอบโต้ไปบ้าง
ให้ลองเปลี่ยนมาเป็นยิ้มและยิงเรื่องอื่นสวนกลับไป เช่น “เฮ้ย เสื้อสวยนี่ ไม่เคยเห็นใส่เลย”
ขั้นที่ 6 : ตอบโต้แกมตำหนิ อย่างมีมารยาท บางทีก็ขอหน่อยเถอะ ตอบโต้ได้บ้าง
ด้วยรอยยิ้มแววตาที่ไม่แข็งกร้าว “นี่ ไม่คุยเรื่องนี้นะ ฟังบ่อย ปล่อยให้เป็นเรื่องของเราเถอะ”
ให้อึ้งไปบ้าง คราวหลังจะได้ไม่พูดอีก
ขั้นที่ 7 : คนแปลกหน้า ถามเรื่องส่วนตัว ให้เปลี่ยนเรื่องพร้อมรอยยิ้มเหมือนเดิม
“รับลูกอมไหมคะ” ประมาณนี้แจกลูกอมไปอมซะจะได้ไม่ต้องมาถามอีก
ขั้นที่ 8 : พนักงานบริการไร้มารยาท ให้พูดเพราะ ๆ ยิ้มใจดี
แล้วบอกว่า “ขอโทษนะคะ ขอพบหัวหน้าของคุณหน่อยได้ไหมคะ มีอะไรจะแนะนำบริการสักนิดค่ะ”
ขั้นที่ 9 : เดินหนีเถอะ ถ้ามัน แ ย่ มากจนก้าวร้าว กับคนบางคนคุณรับมือไม่ไหวหรอก
อย่าไปตอบโต้โดยเด็ดขาดระดับของความไร้มารยาทในสังคม มีอยู่หลากหลาย
เราไม่จำเป็นต้องร่วมไร้มารยาทไปกับพวกเขาด้วยหรอกอยู่ให้ห่างคนเหล่านี้
และไม่จำเป็นต้องตอบโต้ให้เหนือกว่า เพราะจะกลายเป็นสร้างช่องว่างไปกันใหญ่
บางคนก็ไม่อยากเสียมารยาท แต่เพราะมาจากสังคมที่ต่างกัน จึงมีวิธีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนต่างกันนั่นเอง
ขอขอบคุณ c o s m e n e t