
1. สอนให้ตั้งเป้าหมาย
การให้พวกเขาได้ลองตั้งเป้าหมาย อาจจะฟังดูจริงจังเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงเป้าหมายอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ ใกล้ตัวและไม่จำเป็นต้องย ากเกินไป
ในขั้นตอนนี้จะทำให้พวกเขาได้รู้ว่า สิ่งที่ต้องการคืออะไร และคิดต่อยอดว่าจะทำอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมาย
Tip: ให้เด็กเขียนเป้าหมายที่ต้องการ ทำลงในกระดาษทั้งหมด 10 ข้อ หลังจากนั้นเราช่วยเลือกข้อที่คิดว่าน่าจะส่งผลดีต่อพวกเขามากที่สุด
และช่วยชี้แนะให้ได้คิดต่อยอดว่าจะต้องทำอย่างไร ถึงจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ โดยให้เขียนเป็นขั้นตอน เราทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษา
และคอยให้กำลังใจจนพวกเขาประสบความสำเร็จ
2. สอนให้เข้าใจปัญหาและหาวิธีแก้ไข
ปัญหา หรืออุปสรรค เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ บุคคลที่ประสบความสำเร็จทุกคนล้วน มีทักษะการแก้ปัญหาที่เป็นเลิศ และทุกครั้งที่เกิดปัญหาก็มักจะเป็นโอกาสดีๆ ให้พวกเขาได้แสดงฝีมือได้อย่างเต็มที่
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราจะต้องสอนให้เด็กเรียนรู้ปัญหาที่เจอโดยเน้นที่วิธีการคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
Tip: เมื่อเด็กเจอปัญหา หรือความย ากลำบาก พย าย ามชี้แนะให้เข้าใจถึงปัญหาว่าสาเหตุคืออะไร และพย าย ามให้พวกเขาคิดหาแนวทางแก้ไข อย่างสร้างสรรค์ อย่าลืมที่จะทำตัวเป็นผู้ช่วยที่ดี และคอยให้กำลังใจอยู่เสมอ
3. สอนให้เรียนรู้การจัดการกับเงิน
การสอนให้รู้จักจัดการเงิน สำหรับเด็กแล้วอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งความจริงแล้วหัวข้อนี้ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญที่ควรจะต้องปลูกฝังให้กับเด็ก เพื่อที่อนาคตข้างหน้าพวกเขา จะได้มีความพร้อมในการจัดการเงินทั้งรายรับรายจ่ายได้ อย่างเป็นระบบ และใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
Tip: แนะนำให้เด็กรู้จัก การออมและจัดการเงิน โดยใช้การสอนง่ายๆ เช่น เมื่อพวกเขาต้องการของเล่น ให้พวกเขาคำนวนว่าจะต้องเก็บเงินค่าขนมวันละเท่าไหร่
และต้องเก็บนานแค่ไหน ถึงจะได้เงินครบ ในขั้นตอนนี้เราอาจช่วยหากระปุกให้ และสอนพวกเขาจดบัญชีทุกครั้งที่ออมเงิน
4. สอนให้รู้ว่าความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
ความล้มเหลว อาจจะเป็นคำที่ฟังดูแ ย่ แต่บุคคลที่ประสบความสำเร็จล้วนผ่านมันมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน การปล่อยให้เด็กได้พบกับความล้มเหลว จะเป็นโอกาสดีที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ข้อผิดพลาด
และหาหนทางหลีกเลี่ยง หรือไม่ทำมันอีก แนวคิดนี้จะทำให้พวกเขาไม่กลัวที่จะล้มเหลว และกล้าที่ทำตามฝันอย่างไม่ลดละ
Tip: เมื่อพวกเขา ทำสิ่งใดผิดพลาด อย่าเพิ่งรีบลงโทษหรือตำหนิ ให้เริ่มจากการพุดให้นึกหาสาเหตุของปัญหา หลังจากนั้นช่วยกันระดมความคิดว่า จะทำอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ที่สำคัญเราต้องพย าย ามให้กำลังใจ และสอนให้พวกเขา มีกระบวนความคิดที่จะไม่ยอมหมดหวังหรือล้มเลิกกลางคัน
5. สอนให้รู้จักการสื่อส ารและการเข้าสังคม
เด็กสมัยนี้ เติบโตมาในยุค D i g i t a l ที่มีรูปแบบการสื่อส ารเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมแชทต่างๆ ในบางครั้งพวกเขาอาจประสบปัญหาการสื่อส ารในโลกของความจริง
การสอนให้เข้าสังคม จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือการเข้าสังคม
Tip: เริ่มจากการสอนให้พวกเขา เป็นคนสุภาพและรู้จักการให้เกียรติผู้อื่น หลังจากนั้นแนะนำเทคนิคการสื่อส าร เช่น การมองตาขณะพูด การใช้น้ำเสียงในการสนทนา
รวมถึงมารย าทการเข้าสังคม และบางครั้งเราอาจจะหาโอกาส ให้พวกเขาได้พูดต่อหน้าคนจำนวนมาก เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และความมั่นใจ
6. สอนให้เป็นผู้นำที่ดี
เวลาที่เด็กไปโรงเรียน มักจะถูกสอน ตามหลักสูตรและต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเคร่งคัด ซึ่งในบางครั้งอาจทำให้เด็กรู้สึกเหมือนถูกจำกัด ขอบเขตจนทำให้กลายเป็นคนที่ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และความมั่นใจที่จะคิด และทำบางอย่างด้วยตนเอง จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องคอยแนะนำ แนวคิดที่จะช่วยส่งเสริมให้พวกเขาเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต
Tip: สร้างสถานการณ์บางอย่าง ให้เด็กได้รู้จักการเป็นผู้นำเช่น ให้พวกเขาชวนเพื่อนๆไปทำกิจกรรม โดยที่ให้เขาเป็นคนคิดว่าจะพาเพื่อนๆ ไปทำอะไรที่ไหนบ้าง
หรือ เวลาไปดูหนังกัน ทั้งครอบครัว ให้เขาเป็นคนตัดสินใจเลือกที่นั่งที่คิดว่าดีที่สุดให้กับทุกคน
7. สอนให้รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปั นให้กับสังคม
เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว ต้องรู้จักการเป็น ผู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นการให้โอกาสการบริจ าคทรัพย์สินให้คนย ากไร้ หรือแม้กระทั่ง การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม
แนวคิดนี้เป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขาควรจะต้องได้รับ การปลูกฝังเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่ดีในอนาคตต่อไป
Tip: หมั่นชวนพวกเขาไปทำกิจกรรม ที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม เพื่อให้เห็นภาพว่าการเป็นผู้ให้ก่อให้เกิดผลดีอย่างไร
และอาจจะยกตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ที่ชอบช่วยเหลือสังคมให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ควรปฏิบัติตาม
การเลี้ยงลูกไม่ได้ มีสูตรสำเร็จใดๆ แนวคิดเหล่านี้เพียงถูกสร้างขึ้นมาเป็นแนวทางเพื่อให้แต่ละครอบครัว นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับครอบครัวของตนเอง และบริบทของสังคม
ขอขอบคุณ i n c