
1. พูดถูกกาลเทศะ
ไม่ใช่ตลอดเวลา หรอกนะคะ ที่คนเราจะพูดได้ ต้องมีบ้างบางขณะที่เราควรหยุดพูดเพื่อเป็นผู้ฟัง คนอื่นพูดบ้าง คนบางคนถูกตั้งข้อสังเกตว่า “ผี เ จ า ะ ปากมาพูด”
คือได้แต่พูด (พูดๆๆๆ) ฟังไม่เป็นไม่เปิดโอกาส ให้คนอื่นพูด ทำตัวเป็นผู้รู้ไปหมดทุกเรื่อง จึงพูดอยู่ตลอดเวลา คนแบบนี้ น่ารำคาญจริงไหม อย่าทำตัวน่ารำคาญด้วยการพูดจาไม่หยุดไม่หย่อน
ไม่ดูวาระ และโอกาสคนพูดเป็นจะรู้ว่าโอกาสไหน ควรพูด โอกาสไหนควรฟัง และโอกาสไหนควรวางเฉย หลักการพูดให้ถูกกาลเทศะทำได้ง่ายๆ คือ ดูว่าเราต้องพูดในหัวข้อไหน เรื่องอะไร
พูดที่ไหนใครฟังผู้ฟังกี่คน ฟังกันในที่เปิดเผยหรือในห้องจำกัด พูดสั้นหรือพูดย าว จริงจังหรือกันเอง ใครอ่ า น สถานการณ์ออกเตรียมตัวพร้อม ก็สามารถพูดจาได้น่าจดจำตามวาระและโอกาสนั้นๆ ได้เสมอ
2. คนจะพูดดีได้ต้องเริ่มจากคิดดีก่อน
ไม่มีประโยชน์ ที่เราจะเริ่มต้นจากการคิดร้ าย แม้กับคนที่เราไม่ถูกชะตา ด้วยที่สุด ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องพูดจาไม่ดีกับเขาการคิดดี ถือเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ เป็นพื้นฐานของจิตใจที่ดีงามใครก็ตามที่รู้จักคิดดี เขาก็จะเห็นแง่งามของโลกของชีวิต ของตนเอง
และของผู้อื่น เมื่อเห็นแง่งาม หรือแง่ดีของสิ่งต่างๆ เขาก็ย่อมมีทัศนคติที่ดี มีท่าทีที่ดีและเมื่อต้องพูดจาเสวนากัน เขาก็ย่อมพูดจาดี “พูดดี” ในที่นี้หมายความว่าพูดเพราะ พูดคำสุภาพ มีน้ำเสียงที่สุภาพ มีหางเสียงครับ ค่ะ จ๊ะ จ้ะ เพื่อแสดงความมีมารย าทมีไมตรีจิต
ไม่พูดคำหย าบ ไม่ใส่ร้ าย ไม่ตะคอกตะเบ็งใส่กัน ไม่ประชดประชัน ไม่ โก ห ก พกลม คนจะพูดดีเช่นนี้ได้จะคิดร้ ายอยู่ในใจ ไม่ได้แน่นอน เพราะความร้ า ยกาจในใจจะเผยมาทางคำพูด น้ำเสียง แววตาหรือท่าทีขณะที่พูดได้ จึงจำเป็นต้องฝึกตนให้เป็นคนคิดดี
3. พูดจาให้น่าฟัง
น้ำเสียง ที่กังวานแจ่มใส ดังพอประมาณ พูดจาฉะฉานชัดเจนจะดึงดูดความสนใจ จากผู้ฟังได้มาก การพูดในบางครั้งต้องพูดปากเปล่าแต่บ่อยครั้ง ก็ต้องพูดผ่านไมโครโฟน หากมีโอกาสฝึกฝนเรื่องการใช้เสียงอย่างเหมาะสม
ทั้งแบบปากเปล่า และผ่านไมโครโฟนได้ก็ควรทำ เพราะการพูด ผ่านไมโครโฟนนั้น ต้องมีระยะใกล้ไกล ระหว่างปากกับไมโครโฟนที่พอเหมาะเสียง จึงจะชัดเจนไม่มีเสียงเสียดแทรก
จนผู้ฟังรู้สึกไม่สบายหู หรือรำคาญ ในการพูดนั้นควรมีการเน้นจังหวะ และเว้นจังหวะ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ชวนติดตาม
4. พูดมีเนื้ อ หาสา ระ
ห้ามพูดเรื่อยเปื่อย ไม่ว่าจะคุยกัน กับเพื่อน ผู้ร่วมงาน พ่อแม่หรือพูดในที่ประชุมหรือที่สาธารณะก็ต้องมีเป้าหมายในการพูดพูดอย่างมีส าระ
มีขอบเขตชัดเจนว่าต้องการสื่อ ส ารเรื่องอะไร หรือต้องการจะบอกกับผู้ฟังว่าอะไร
5. พูดให้เกิดความรู้สึกร่วม
วิธีการง่ายๆ คือสบตา กับผู้ฟังอย่างทั่วถึงตั้งคำถามในขณะพูด แล้วค่อยๆ อธิบายเพื่อนำไปสู่คำตอบ สอบถามผู้ฟังบ้างในบางหัวข้อที่ง่ายๆ หรือเป็นเรื่องของประสบการณ์ เป็นเรื่องของความคิดเห็นที่ไม่ใช่เรื่อง
ซึ่งเมื่อตอบแล้วอาจถูก หรือผิดทั้งนี้ผู้พูดจำเป็นต้องรู้พื้นภูมิของผู้ฟังบ้าง เพื่อพูดในภาษาที่เขาเข้าใจง่าย บางครั้งการพูดด้วยสำเนียง ท้องถิ่นก็ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีรู้สึกเป็นกันเองอย่าพูดไทยผสมกับภาษาต่างประเทศ
โดยไม่อธิบาย เลือกใช้ภาษาต่างประเทศ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ขอขอบคุณ updatetoday