
1. หากิจกรรมทำร่วมกันให้บ่อยขึ้น
วิธีนี้เป็นวิธีที่ดี่ที่สุดสำหรับพ่อแม่ ที่ใช้สอนลูกให้รู้จักการทำงานร่วมกัน เพื่อให้งานที่ทำออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด
และทุกกิจกรรมที่ทำร่วมกันยังช่วยสอนให้เด็กได้รู้ถึงกฎเกณฑ์และข้อจำกัด และให้พวกเขาเห็นว่าการเคารพในกฎกติกาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้
2. แสดงความกระตือรือร้นในสิ่งที่เด็กๆเขาสนใจ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในความสนใจของพ่อแม่ก็ตาม
การให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกๆสนใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในครอบครัว ทั้งยังช่วยสนับสนุนลักษณะนิสัยที่ดีของเด็กได้
โดยที่เขาจะไม่รู้สึกว่าอยู่เพียงลำพัก ยังไม่คนคอยสนับสนุนอยู่
3. ทำความเข้าใจในเรื่องที่เข้าใจผิด และพูดคุยกัน
แก้ไขความเข้าใจผิดที่อาจนำมาซึ่งอารมณ์ขุ่นมัว และทำให้เด็กกลายเป็นคนขี้โมโห ทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ และกลายเป็นคนไม่น่าไว้วางใจ
ผู้ใหญ่ควรปรับความเข้าใจกับเด็ก บอกกล่าวไม่ตำหนิจนกลายเป็นการด่าทอ เพราะยิ่งทำให้ลูกของพวกคุณต่อต้านสุดท้ายกลายเป็นเด็กกร้าวร้าวได้
4. ให้ลูกของคุณเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ปัญหา
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นอย่ากันลูกๆของคุณออกจากปัญหา ถ้าเป็นปัญหาไม่ใหญ่นักลองให้เขามาช่วยพ่อแม่คิดหาทางออกดู
ให้เด็กได้ลองใช้ความคิดช่วยแก้ปัญหา หรือช่วยกันออกความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้หายไปด้วยความร่วมมือร่วมใจกัน
5. สอนให้รู้จักการจัดการอารมณ์ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี
พ่อแม่ควรสอนให้ลูกๆ เรียนรู้ และฝึกรับมือกับอารมณ์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะความรู้สึกผิดหวัง
สอนพวกเขาว่าผิดหวังในชีวิตบ้างไม่ใช่ทุกอย่างในชีวิต บอกวิธีรับมือกับอารมณ์ด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
6. สอนพวกเขาให้รู้จักการรอคอย
ผู้ปกครองควรสอนเด็กๆให้รู้จักการรอคอย ไม่ใช่เมื่ออยากได้อะไรก็ต้องได้ทันที
เพราะถ้าปล่อยไว้จนเด็กโตขึ้น อาจกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง เป็นผู้ใหญ่ไม่น่าคบ
7. พูดให้กำลังใจไม่ใช่ตำหนิติเตียน
เมื่อพ่อแม่ต้องการตำหนิ หรือดุลูกๆ ต้องให้เหตุผลด้วยว่าเพราะอะไร และทำไมพ่อแม่ถึงต้องตำหนิลูก
การใช้เหตุผลทำให้เด็กเป็นคนที่มีเหตุผลเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เขาจะเป็นคนมีเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสิน
8. ใช้คำพูด “ไม่” ในแบบที่นุ่มนวล ไม่ใช้อารมณ์
พ่อแม่ ผู้ปกครองที่ต้องการปฏิเสธลูกน้อยของพวกเขา การใช้คำว่า “ไม่” บางครั้งต้องใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล ไม่ให้เหมือนเป็นการสั่งจนเกินไป
9. เลือกใช้โทนเสียงให้ถูกต้องเมื่อต้องบังคับลูกๆให้ทำอะไรก็ตาม
เลือกใช้โทนเสียงในการสำหรับการอกคำสั่งลูกให้ดูไม่เหมือนจงใจออกคำสั่ง เพราะเด็กๆ อ่านอารมณ์พ่อแม่ได้จากน้ำเสียง
10. ใช้วิธีพูดคุยประนีประนอม
พ่อแม่ต้องจำไว้เสมอว่าการประณีประนอม ไม่ใช่การยอมแพ้ให้ลูกของคุณ การประณีประนอมคือการพูดคุยและถือเป็นการสอนให้เด็กๆ
ได้คิดว่าอะไรที่พวกเขาต้องการนั้นมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ถือเป็นบทเรียนให้เขาได้เรียนรู้ได้ว่าไม่สามารถได้ทุกอย่างที่ต้องการได้เสมอไป
11. สอนให้รู้จักการรับผิดชอบ
ผู้ปกครองอย่าคิดว่าลูกๆของคุณยังเด็ก ไม่สามารถรับผิดชอบอะไรได้ พวกคุณอาจกำลังคิดผิด
เพราะการฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบทำให้พวกเขาโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
12. สอนลูกๆให้เห็นความสำคัญของคนอื่นบ้าง จะได้เข้าใจคนรอบข้าง
พ่อแม่ต้องสอนลูกๆเสมอว่า เราไม่ใช่คนเดียวในโลก เพราะฉะนั้น อย่าถือเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่
รับฟังความคิดเห็นของคนรอบข้างบ้าง สนใจความรู้สึกของคนรอบข้างให้มากขึ้น
13. ตักเตือนเมื่อลูกๆของคุณเริ่มปฏิบัติตัวออกนอกเส้นทีกำหนดให้
พ่อแม่ที่ดีต้องตักเตือนสั่งสอนลูกๆ เมื่อเห็นว่าพวกเขากำลังออกนอกลู่นอกทาง
หรือกำลังทำพฤติกรรมไปในทางที่ แ ย่ พูดคุยและช่วยลูกๆหาทางแก้จะได้ทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
14. บอกให้รู้ว่า คุณภูมิใจในตัวลูกๆมากแค่ไหน
การพูดให้กำลังใจด้วยการบอกว่า คุณภูมิใจในตัวพวกเขา เมื่อเห็นว่าลูกๆของทำในสิ่งดี
และเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ทำให้พวกเขามีแรงผลักดันให้อยากทำเรื่องราวดีๆแบบนี้อยู่เรื่อยๆ
15. รับฟังลูกคุณเสมอ
พ่อแม่ควรรับฟัง ความทั้งสองฝ่าย และบอกว่าอะไรคือส่วนที่ถูก และอะไรคือส่วนผิด
เป็นฝึกให้ลูกเข้าใจว่าการพูดคุยและรับฟังเป็นการแก้ปัญหาที่ดีสุด ทั้งยังเป็นการใช้เวลาร่วมกันในการฟัง
ขอขอบคุณ n e w.c a m r i