
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ใครก็อยากได้เงินที่มากขึ้นกันทั้งนั้น แต่ถ้าจะได้เงินที่มากขึ้น ก็จำเป็นต้องเสียสละเวลาส่วนหนึ่งออกไปรับจ๊ อบ พิเศษเข้ามาอีก
ทว่าปัญหาสำหรับบางคนก็คือ ไม่มีเวลา และ/หรือ ไม่มีศักยภาพพอที่จะออกไปรับจ๊อบเพิ่มน่ะสิ แค่ทำงาน 8 ชั่ วโมง (อย่างต่ำ) ต่อวันก็เหนื่อยสายตัวแทบขาดแล้ว
ยิ่งคนที่มี โ ร ค ปร ะ จำ ตั ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึงไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อว่า แค่ “เก็บเงิน” ไม่ รั บ จ๊ อ บ เพิ่ม เราก็มีเงินงอกเงยได้ เพียงแค่เรารู้วิธีบริหารเงินและต่อยอดเงินให้เป็น
1. อย่าดูหมิ่นเศษเงิน
นอกเหนือ จากการหักเงิน 50 บาท เข้ากระปุกส่วนตัว เงินที่เป็นเศษเหรียญเล็กน้อยเหลือจากการใช้จ่ายแต่ละวันก็อย่าดูแคลน
หยอดเข้าไปสมทบกับกองแบงค์ 50 ด้วยเห็นเป็นเศษเล็กเศษน้อยอย่างนี้ เราสะสมนานวันเข้าก็เป็นเงินจำนวนมากได้เหมือนกันนะจ๊ะ
2. หักเข้าเงินออมไปเลยวันละ 50 บาทเป็นอย่างต่ำ
เทคนิคนี้ เป็นเทคนิคยอดฮิต ที่หลายเว็ บ บอร์ด ก็ทำกัน เพราะแบงค์ 50 ถือว่าเป็นแบงค์มูลค่ากลาง ๆ ไม่รู้สึกว่ามากไปจนต้องอดมากกว่าอิ่ม
แต่ก็เป็นเงินจำนวนมากพอที่จะเป็นก้อนเงิน ฉุ ก เ ฉิ น ได้ถ้าคุณสามารถเก็บได้ทุกวันใน 1 เดือนก็ได้เงิน 50×30 = 1,500 บาทแล้ว 1 ปีผ่านไปก็ได้ตั้ง 18,000 บาทแน่ะ !
3. หากเก็บเงินถึงหลักหมื่น (อย่างน้อย 20,000 บาท) ซื้อทองเก็บไว้
ทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง ที่มีแนวโน้มว่ายิ่งเก็บนาน ราคายิ่งงอกเงยเก็บไว้ตอนนี้ 10 ปีต่อไปอาจเพิ่มเป็นหลายเท่าตัวก็ได้
4. เลือกเปิดบัญชีที่มี ดอกเบี้ยสูง
ไหน ๆ ก็เก็บเงินเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็ทำให้มันงอกเงย เป็นรูปร่าง ด้วยการกินดอกเบี้ย ในธนาคารไปด้วยสิ !
ลองถ้าจะให้ดี ลองมองหาบัญชีประเภทฝากประจำ แต่ได้ดอกเบี้ยสูง (ลองหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบแต่ละแบงค์ให้ดีก่อนตัดสินใจ)
5. สมัครบัตรเครดิต
หลายคนมักเข้าใจผิด ว่าการใช้บัตรเครดิต เท่ากับการนำเงินในอนาคตมาใช้น้อยคนนักที่จะเล็งเห็นประโยชน์ว่า“แต้มสะสมก็คือการทุ่นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง”
สินค้าบางอย่าง บริการบางตัวหาก เราไม่มีเงินสด สามารถใช้แต้มสะสม เป็นส่วนลดหรือแลกได้ในทันที
6. ลงทุนหุ้น หรือกองทุนเงินรวม (อย่างน้อยควรมีเงินเก็บสัก 20,000 บาท)
เจียดเงินเก็บ สักก้อน 5,000-10,000 บาทนำไปซื้อหุ้นไว้เก็งกำไร หรือลงทุนในกองทุนเงินรวมเงินปันผลถึงจะไม่มากมาย แต่ก็พอทุ่นค่าใช้จ่ายเป็นค่าขนมได้บ้าง
อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา เงินที่มีอยู่ถ้าเรามองว่ามันน้อย มันก็จะเป็นเงินน้อย แต่ถ้ามองเห็นก้อนเงินที่งอกเงยกว่าเดิม เราก็จะได้ก้อนเงินที่งอกเงยกว่าเดิม
มันอยู่ที่วิธีคิด และวิธีบริการจัดการ … คุณเลือกได้
ขอขอบคุณ j e e b . m e