
ทุกข์จากสิ่งไหน ก็ขอให้เดินออกจากสิ่งนั้น หากทำไม่ได้ ก็ต้องอยู่กับทุกข์ให้เป็นทำใจยอมรับ หากแก้ทุกข์นั้นไม่ได้ ก็ให้แก้ที่เราก่อน การแก้ในที่นี้คือแก้ที่ความคิดเพราะหลายคนทุกข์จากความคิดคิดย้ำๆ วนเวียนอยู่กับทุกข์ไม่จบไม่สิ้นแบกอดีต
แบกเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วแก้ไขไม่ได้แบกความ เ จ็ บ ป ว ด เ จ็ บ ใจ เศร้า ห ม อ ง “ความทุกข์” จึงวนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่จางหาย ยิ่งพยายามลืมก็ยิ่ง เ จ็ บ ป ว ด ยิ่งพยายามวาง พยายามอภัย ปล่อย ยิ่ง เ คี ย ด แ ค้ น
อยากเอาคืนเมื่อรู้อย่างนี้ก็จงแก้ที่ใจ “ทุกข์เกิดที่ไหนก็แก้ที่นั้น”ใจมันทุกข์ก็แก้ที่ใจก่อน ฝึกข่ม ฝึกอดทน ฝึกสกัดกลั้น “ทุกข์ให้รู้ว่าทุกข์ เ จ็ บ ให้รู้ว่า เ จ็ บ รู้สึกอย่างไรให้รู้เท่าทัน”ผ่านลมหายใจเข้าและออก กำหนดลมหายใจเขา-ออก.ให้เนิบช้า จดจ่อ เพ่งลงไปที่อารมณ์ที่เกิดขึ้น
จนกว่าความรู้สึกนั้นจะค่อยๆดับลงผ่านการฝึกสมาธิเมื่อมีสมาธิก็จะมีสติเมื่อสติมาปัญญาก็จะเกิด เห็นทุกข์ภัยของทุกข์-สุขที่เกิดเห็นทุกอย่างแวดล้อมว่ามันไม่เที่ยงแท้ แน่นอนทุกๆ อย่างจะผ่านไปและจะกลับมาใหม่ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ รู้เท่าทันทุกข์ ก็จะเบื่อ ปลง ปล่อยวาง อภัย เท่านี้เอง
ถ้าเราไม่เลือกที่จะปล่อยวางจากความ ทุกข์ เราก็จะหาความสุข ไม่เจอได้ง่ายๆ และจะกลายเป็นคนที่ โ ง่ เ ข ล า ขึ้นมาทันที ที่ไม่รู้จักวิธีการสลัดความทุกข์ออก ไปให้ไกลๆ จากตัว 12 ข้อคิด ทุกข์เพราะ โ ง่ จาก หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ อาจจะช่วยให้คุณหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ค่ะ
1. ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วยความเขลา เราก็เป็นทุกข์
ทั้งทั้งหลายในโลก ที่เราได้พบ เห็น กันอยู่ทุกเวลานั้น ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความเขลา เราก็เป็นทุกข์ แต่ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยปัญญา
เราก็จะไม่เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ เพราะการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งนั้นๆ จึงเป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ จิตใจที่เปลี่ยนแปลงไปขนาดนั้นเขาเรียกว่า มันเปลี่ยนหน้าตาไป
2. ดีใจมันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เสียใจมันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน
บางครั้งก็เป็นไปในทางดีใจ บางครั้งก็เป็นไปในทาง เสียอกเสียใจ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งสองอย่าง
ดีใจมันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เสียใจก็เป็นทุกข์เหมือนกัน แต่ว่าดีใจนั้นมันเป็นทุกข์ที่ซ่อนอยู่ข้างหลังส่วนเสียใจ นั้นเป็นทุกข์เปิดเผย มองเห็นได้ทันท่วงที
3. เรื่องที่ปรากฏอยู่ในจิตใจของท่านทั้งหลาย
ความดีใจนั้น มันเป็นทุกข์ภายหลัง เมื่อสิ่งที่เราดีใจนั้นสูญเสียไป อันนี้เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่ที่จิตใจของท่านทั้งหลาย ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา
เราจะพบว่ามีอะไรๆ เกิดขึ้นในชีวิตของเราหลายเรื่อง หลายประการบางเรื่องก็เป็นอย่างหนึ่ง บางเรื่องก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งดูเหมือนว่าเราไม่ค่อยจะได้เอามา พิจารณาเท่าใดนัก มักจะปล่อยให้มันผ่านพ้นไปตามเรื่องราว
4. ไม่เกิดอะไรขึ้นในด้านปัญญา
เช่น ความสุขเกิดขึ้น ผ่านพ้นไป เราก็ให้มันผ่านพ้นไปเฉยๆ ความทุกข์เกิดขึ้นเมื่อผ่านพ้นไปแล้ว ก็ผ่านพ้นไปเฉยๆ อย่างนี้ไม่เกิดอะไรขึ้นในด้านปัญญา
คือ เราไม่ได้นำเรื่องนั้นมาพิจารณาว่าเกิดขึ้นจากอะไรและเราควรจะทำใจ ของเราอย่างไร เราไม่ได้พิจารณาไตร่ตรอง ในเรื่องนั้นอย่างรอบคอบ
ก็ไม่เกิดปัญญาเพิ่มขึ้น อยู่อย่างใดก็เป็นอยู่ อย่างนั้นตลอดไป
5. นำเรื่องนั้นมาพิจารณาไตร่ตรอง
แต่ถ้าหากว่า เราได้นำเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเรามาพิจารณาเป็นเรื่องๆไป เราก็จะเข้าใจเรื่องนั้นได้ถูกต้องมากขึ้น ได้ปัญญามากขึ้น
พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า ท่านจึงสอนเราทั้งหลายให้อยู่ด้วยปัญญา หมายความว่า ให้พิจารณาสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องได้
เรื่องเสียเรื่องความสุข ความทุกข์ เรื่องความ เ สื่ อ ม หรือความเจริญที่เกิดขึ้นภายในวิถีชีวิตของเราแล้ว เราก็ต้องนำเรื่องนั้นมาพิจารณาไตร่ตรอง
เพื่อให้รู้ชัด เห็นชัดในเรื่องนั้นตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ
6. การรู้ชัดตามสภาพที่มันเป็น
การรู้ชัดตามสภาพ ที่มันเป็นนั่นแหละ จะทำให้เราคลายปัญหาได้ และเราจะไม่สามารถสร้างปัญหาอะไรเพิ่มขึ้นอีกในวิถีชีวิตของเรา
เพราะว่าปกติคนเรานั้นมักชอบสร้างปัญหา ทำปัญหาให้เกิดขึ้นในชีวิตด้วยประการต่างๆ เพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ
บางทีปัญหาเหล่านั้นมันซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เรื่อยไป ไม่รู้จักจบ ไม่รู้จักสิ้น นั่นก็เพราะว่าเราไม่ได้พิจารณา
ในเรื่องนั้นๆ ไม่เอาเรื่องนั้นมาเป็นบทเรียน เป็นเครื่องสอนใจ จึงได้สร้างปัญญาซ้ำแล้วซ้ำอีก
7. ไม่รู้จักจบ ไม่รู้จักสิ้น
เหมือนคนโกรธ แล้วโกรธอีก เ ก ลี ย ด แล้ว เ ก ลี ย ด อีก พ ย า บ า ท แล้วก็ พ ย า บ า ท อีกเรื่อยไป ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้นกันเสียที
ก็เพราะว่าไม่ได้นำมาพิจารณาว่า ทำไมเราจึงได้โกรธ ทำไมเราจึงได้ เ ก ลี ย ด ทำไมเราจึงได้ พ ย า บ า ท ในบุคคลนั้น
ในวัตถุนั้นๆ แล้วเราก็ไม่ได้พิจารณาว่า ในเวลาเราโกรธนั้น สภาพจิตใจเป็นอย่างไร มีความร้อนหรือมีความเย็นอย่างไร
เวลาเรา เ ก ลี ย ด สภาพจิตใจเป็นอย่างไร
8. จนเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์
เราไม่ได้นำมาพิจารณา ไตร่ตรอง เพื่อให้รู้ชัดในเรื่องนั้นตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ ก็เลยเผลอไป ป ร ะ ม า ท ไปทำสิ่งนั้นบ่อยๆ
จนเป็นเหตุให้เกิดความทุข์ ไม่รู้จักจบ ไม่รู้จักสิ้น อันเป็นคำที่เราเรียกกันว่า ไม่รู้จักเข็ดหลาบ ไม่รู้จักกลัวต่อสิ่งเหล่านั้น
เพราะว่าเราไม่ได้นำมาพิจารณา อันนี้เรียกว่าไม่ได้ปฏิบัติธรรมนั่นเอง
9. เรานำมาพิจารณาด้วยความเขลา
การปฏิบัตธรรมะก็ต้องใช้ปัญญา พิจารณาไตร่ตรองในเรื่องอะไรๆ ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเราอยู่บ่อยๆ แม้เรื่องนั้นจะผ่านพ้นไปแล้ว
เราก็นำมาพิจารณาด้วยปัญญาได้ การนำอะไรที่ผ่านพ้นไปแล้ว มาพิจารณาด้วยปัญญานั้น ไม่เป็นเรื่องเสียหาย
แต่ถ้าเรานำมาพิจารณา ด้วยความเขลา คือ ไม่ได้พิจารณา นำมานั่งคิดนั่งนึกกลุ้มอก กลุ้มใจ มีความวิตกกังวลด้วยปัญหาอะไรต่างๆ
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในจิตใจของเราบ่อยๆ ญาติโยมทุกคนคงจะเป็นอย่างนั้น
10. คิดด้วยความ โ ง่ เ ข ล า
เช่น มีความเสียใจไม่รู้จักจบ มีความโกรธไม่รู้จักจบ มีความ เ ก ลี ย ด อะไรในเรื่องของใครๆไม่รู้จักจบ ไม่รู้จักสิ้น
อย่างนี้เรียกว่า เราไม่ได้พิจารณา แต่ว่าเรานำเรื่องนั้นมาคิดเอง เท่านั้น มาคิดเองด้วยความอาลัย คิดด้วยความ โ ง่ ความเขลา
เมื่อเราคิดด้วยความ โ ง่ ความเขลา มันก็สร้างปัญหาขึ้นมาในจิตใจของเรา
11. ถ้าเราคิดด้วยปัญญา
แต่ถ้าเราคิดด้วยปัญญา จะไม่สร้างปัญหาแต่เป็นการคลายปัญหานั้นให้หมดไป คำที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า
“อย่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงแล้วด้วยอาลัย” การคิดถึงอะไรที่ล่วงมาแล้ว ด้วยความอาลัย
หมายความว่า ด้วยความเสียดายในเรื่องนั้นๆ เราจะมีความทุกข์ในเรื่องนั้น
12. หูตาสว่าง
การคิดอย่างนั้นไม่ถูกต้อง แต่ถ้าเรานำมาคิดเพื่อ ให้เกิดปัญญา เรียกว่า เอามาวิเคราะห์ วิ จั ย ในเรื่องนั้นให้รู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร
อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง อย่างนี้ไม่เป็นเรื่องเสียหาย แต่เป็นเรื่องที่จะช่วย ให้เราหูตาสว่าง มีจิตใจสว่างขึ้นด้วย
ขอขอบคุณ g a n g b e a u t y