
1. ใช้เท่าไหร่ เก็บเท่านั้น
เช่นวันนี้ ซื้อเสื้อไป 250 บาท ก็ให้เก็บ 250 บาท เท่ากับจำนวนเงิน ที่ใช้ไปยิ่งเราใช้เงินฟุ่มเฟือยมาก
ก็ยิ่งต้องเก็บมาก ถือเป็นการเก็บเงินหลังใช้ และเป็นวิธีที่เหมาะกับคนที่ค่อนข้างใช้เงินเก่ง
เพราะยิ่งเราใช้เยอะ เราก็ต้องมีวินัยในการเก็บเงินให้เยอะขึ้นด้วย
2. แบ่งใช้ตามวัน
เช่น ตั้งเป้าว่าจะใช้วันละ 200 บาท เหลือใช้จากวันนั้นๆ ก็ให้นำเงินที่เหลือมาหยอดกระปุกเลย
ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ 1 ปีมาดูกันว่า จะมีเงินเก็บทั้งหมดเท่าไหร่!
3. หยอดกระปุกออมสิน
วิธีออมเงินแบบเดิมๆ ที่ยังใช้ได้ผล คือ แบ่งกระปุกออกเป็นหลายๆ ใบ
เขียนเป้าหมายในแต่ละกระปุกว่าออมเพื่ออะไร ให้เราเห็นเป้าหมายในทุกๆ วัน
แค่นี้ก็มีกำลังใจในการออมแล้ว แต่อย่าลืมว่าต้องมีกระปุกสำหรับเงินเก็บด้วยนะ
4. เปิดบัญชีเงินปากประจำ
วิธีนี้รับรองว่ามีเงินเก็บชัวร์ พอเงินเดือนเข้าปุ๊บ ก็ดึงข้าบัญชีฝากประจำปั๊บ
ถอนไม่ได้ด้วยมีให้เลือกระยะเวลาด้วย ว่าอยากออมกี่เดือน 12 เดือน 24 เดือน
หรือ 36 เดือนก็ได้ ดอกเบี้ยสูงแถมไม่เสียภาษีด้วยนะ!
5. ตั้งเป้าว่าจะเก็บเท่าไหร่
ใน 1 ปี ตั้งเป้าเลยว่าอยากมีเงิน เก็บเท่าไหร่ เอาเท่าที่ไหว เช่น อยากมี 1 แสนบาท!!
ก็ตกเดือนละ 8,333 บาท หรือ วันละ 274 บาทนั่นเอง ถ้าไหวก็ลุยโลดดด
6. เก็บเงินตามวันที่
วิธีนี้ ให้เอาวันที่เป็นตัวตั้ง หมายความว่า วันที่ 1 ให้เก็บเงิน 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท
หยอดกระปุกไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 31 เก็บ 31 บาท พอขึ้นเดือนใหม่
ก็เริ่มเก็บ 1 บาทใหม่ตามวันที่นั้น ๆ ทำแบบนี้ไปทุกเดือน ๆ รวมทั้งปี
เราจะมีเงินเก็บทั้งหมด 5,738 บาท หรือถ้าใครจะเก็บเงินวันที่ 1 เป็น 10 บาท
วันที่ 31 เป็น 310 บาทก็ได้รวมทั้งปีเราจะมีเงินเก็บถึง 57,380 บาทเลยยย!!!! แม่เจ้าครึ่งแสนนน
7. เก็บ 10% ของเงินเดือน
พอเงินเดือนออกปุ๊บ ก็ให้เก็บก่อนเลย 10% ของเงินเดือน ถือเป็นการเก็บเงินก่อนใช้
สมมุติได้เงินเดือน 20,000 บาท ก็เก็บ 2,000 บาท ทำแบบนี้ ทุกเดือน ๆ ถึงสิ้นปี เราจะมีเงินเก็บ 24,000 บาท
8. เก็บเศษเงินเดือน
สำหรับคนที่เงินเดือน มีเศษ เช่น 20,650 บาท ก็ให้เก็บเศษ 650 บาท หากใครมีเศษน้อยหน่อย
เช่น 19,250 บาท ก็อาจจะเก็บ 1,250 บาทเลย ก็ได้ลองปรับดู ตามความเหมาะสม
แล้วเก็บแบบนี้ไปทุกเดือนๆ เศษเงินเดือนที่ว่าเล็กก็สามารถกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ไม่ยาก
ขอขอบคุณ s a l e h e r e